เคล็ดลับนักออกแบบ: เกรนกระดาษ 📄

สงสัยมั้ยว่าทําไมเวลาเราพับกระดาษ บางครั้งเรียบกริบ บางครั้งก็ดูเยินๆ ทั้งๆ ที่เราก็พับเหมือนเดิม วันนี้ Casper Schools มาไขข้อสงสัยให้ค่ะ

ความลับของการพับ ทําหนังสือ ประดิษฐ์งานจากกระดาษก็คือ การเข้าใจว่ากระดาษทุกแผ่นมี 'แนวกระดาษ' หรือ 'เกรน' (Grain) ถ้ารู้ว่าเกรนเรียงแนวไหนจะทําให้งานเรียบร้อยขึ้นเป็นสองเท่า ✨

ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่ากระดาษเกิดจากการนำเส้นใยเยื่อไม้จำนวนมากมาเรียงตัวต่อกันในทิศทางเดียวกันจนออกมาเป็นกระดาษหนึ่งแผ่น ซึ่งแนวการเรียงตัวของเยื่อไม้เหล่านั้นเราเรียกว่า 'แนวกระดาษ' หรือ 'แนวเส้นใยกระดาษ' ที่มีผลต่อเนื้อของกระดาษ และกระบวนการพิมพ์

โดยแนวกระดาษมี 2 รูปแบบ

1. แนวตามเกรน (Machine Direction หรือ MD) หรือแนวเกรน เป็นแนวที่ตั้งฉากกับแนวเส้นใยกระดาษ

2. แนวขวางเกรน (Cross Direction หรือ CD) หรือด้านขวางของแนวเส้นใยกระดาษ

ยกตัวอย่างเช่น เกรนของ A4 ทั่วไปมักเรียงตามด้านยาวของกระดาษ เพราะฉะนั้นเวลาพับตามแนวยาวจะขอบกริบกว่าพับแนวขวางที่ดูขอบหักๆ A4 มักตัดมาจาก A3 เพราะฉะนั้นเกรนของ A3 จึงเรียงด้านขวางแทน

เวลาทําหนังสือโรงพิมพ์จะต้องระวังเรื่องเกรน ถ้าเปิดหนังสือแล้วรู้สึกหน้าไม่ลู่ไปกับตัวเล่ม รู้สึกขัดๆ แสดงว่าเกรนเรียงตามแนวขวาง ฝืนการงอของกระดาษ จะทําให้หลุดออกจากสันกาวได้ง่ายค่ะ

ทุกครั้งก่อนใช้ ลองงอตามแนวยาว กับแนวขวางดู อันไหนงอได้เป็นธรรมชาติกว่าก็ให้ใช้ตามแนวนั้น การพับ กรีด ตัด ทําโมเดล ถ้าเรารู้เกรนจะทําให้งานสวยและเร็วขึ้นมากเลยล่ะ 👻

Updated: Published: