1. Understand – จับโจทย์ให้แม่นก่อนดีไซน์
งานออกแบบที่ดี เริ่มต้นจากการเข้าใจโจทย์ให้ชัด เพราะดีไซน์ที่ดีไม่ได้มีแค่ความสวยงาม แต่ต้องตอบโจทย์ของโปรเจกต์นั้นๆ ด้วย
-
อ่านบรีฟให้ละเอียดทุกครั้งที่เริ่มงาน เพราะก่อนจะทำงานเราต้องรู้ก่อนว่างานนี้ทำเพื่อใคร และมีเป้าหมายอะไร
-
ทำความเข้าใจแบรนด์ว่าสไตล์ของแบรนด์เป็นแบบไหน? Mood & Tone ควรไปในทิศทางใด?
-
วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้รู้ว่าคนที่เห็นงานนี้คือใคร? ชอบสีอะไร? ใช้ภาษาแบบไหน?
ถ้าหากเราข้ามขั้นตอนนี้ไป งานอาจจะออกมาสวยแต่ไม่ตรงโจทย์ที่ได้รับ หรือแย่กว่านั้นคือไม่สามารถสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้เลย เพราะฉะนั้นการเข้าใจโจทย์ให้ชัดตั้งแต่ต้นจะช่วยให้เราวางทิศทางงานได้แม่น และดีไซน์ออกมาได้ตรงจุดตั้งแต่แรก ไม่ต้องเสียเวลามาแก้งานทีหลัง
2. Research – หาข้อมูล หาแรงบันดาลใจ
เมื่อเข้าใจโจทย์แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การหาข้อมูลและหาแรงบันดาลใจ เพื่อให้ได้ทิศทางของงานที่ชัดขึ้น
-
ดูงานของแบรนด์อื่นๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน
-
ลองหาแรงบันดาลใจใหม่ๆ จากที่ที่ไม่เคยไป เพราะไอเดียดีๆ อาจซ่อนอยู่ในที่ที่ไม่คุ้นเคย
-
อาจใช้ Pinterest หรือ Behance ในการหา Reference ที่เป็นไปได้
-
สร้าง Mood Board เพื่อรวมไอเดีย เช่น สี ฟอนต์ และองค์ประกอบภาพ
ทำไม Mood Board ถึงเป็นอาวุธลับของดีไซเนอร์?เพราะ Mood Board คือการรวบรวมภาพและองค์ประกอบที่ช่วยให้เราเห็นภาพรวมของงานดีไซน์ Mood Board ที่ดีจะช่วยให้เราไม่ออกนอกกรอบ และทำให้งานออกแบบดูเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
3. Create – ลองทำ ลองปรับ อย่ากลัวผิด
ถึงเวลาลงมือทำ! ขั้นตอนนี้คือการนำข้อมูลทั้งหมดเราได้ Research มาแปลงเป็นดีไซน์จริง
เทคนิคที่ช่วยให้ออกแบบได้ดีขึ้น
-
ทำหลายเวอร์ชัน ไม่ต้องหยุดที่ดีไซน์แรก ควรลองทำหลายๆ แบบเพื่อเทียบกัน
-
อย่าเพิ่งกลัวว่าจะผิด เพราะการทดลองคือจุดเริ่มต้นของความเป็นไปได้ใหม่ๆ ถ้ามัวแต่กังวลว่างานจะออกมาไม่ดี อาจทำให้ไม่กล้าลงมือทำ และพลาดโอกาสในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ไป
-
ให้เพื่อนหรือทีมช่วยดู บางครั้งมุมมองของคนอื่นช่วยให้เห็นข้อบกพร่องที่เราอาจเผลอมองข้ามไป
4. Refine – เก็บงานให้เนี๊ยบ
หลังจากออกแบบเสร็จ ไม่ใช่ว่าจะส่งงานได้เลย แต่เราต้องกลับมาเช็กความเรียบร้อยก่อน
-
เช็กกับบรีฟว่างานที่ทำตรงตามโจทย์ไหม? มีอะไรหลุดไปหรือเปล่า?
-
ตรวจคำผิด โดยเฉพาะงานที่มีข้อความ ต้องไม่มีตัวสะกดผิดเด็ดขาด!
-
เช็ก Mood & Tone ว่างานออกแบบยังไปในทิศทางเดิมไหม?
-
ดูความสวยงามของงาน ทุกองค์ประกอบต้องสมดุล ตัวหนังสืออ่านง่าย สีสวย
และอีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญที่มือใหม่มักมองข้าม คือการ "ปิดไฟล์ให้เหมาะกับการใช้งาน" ไม่ว่าจะเป็นการส่งไฟล์ให้คนในทีม โรงพิมพ์ หรืออัปขึ้นโซเชียล การตั้งค่าไฟล์ให้ถูกต้องตั้งแต่ขนาด สี และฟอร์แมตไฟล์ จะช่วยให้งานไม่เสียเวลาแก้ซ้ำ และดูโปรมากยิ่งขึ้น
สำหรับใครที่ยังสับสนว่าไฟล์ไหนต้องเซฟยังไง? RGB กับ CMYK ต่างกันยังไง? หรือเจอปัญหาส่งไฟล์ไปแล้วสีเพี้ยน ขอกระซิบว่าในคอร์ส Basic AI และ Advanced AI ของ Casper Schools เราบอกหมดแบบไม่มีกั๊ก!
- Adobe Illustrator for Beginners – ปูพื้นฐานการใช้ Illustrator ตั้งแต่เปิดโปรแกรมไปจนถึงการบันทึกและส่งไฟล์อย่างเป็นมืออาชีพ ผ่านแบบฝึกหัดที่ทำให้เข้าใจง่ายและใช้งานได้จริง
- Intensive Advanced Adobe Illustrator – ปลดล็อกศักยภาพการออกแบบให้แอดวานซ์ขึ้น เรียนรู้การใช้เครื่องมือแบบลึก ซึมซับทริคจากมืออาชีพ และฝึกผ่านแบบฝึกหัดกว่า 100 ชิ้น ให้กลายเป็นทักษะติดตัวไปตลอด